วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

แผนการให้ความรู้โรคความกดันโลหิตสูง

เเผนให้คำปรึกษา

                                         แผนการให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงภายใน 1 ชม.
                                    กลุ่มหมาย ผู้ที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 30 คน
                                            สถานที่ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
                                            วันที่ 22 เมษายน 2559    เวลา 08.00 น.-09.00 น.
                                                       ผู้ให้ความรู้ นางสาวนวินดา หลังเสด
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.         ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันและดูแลตัวเองได้
2.         ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงสามารถปรับตัวได้

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา

กิจกรรมให้       ความรู้

สื่อการสอน

การวัดและประเมินผล

หมายเหตุ

สวัสดีค่ะ ทุกท่านดิฉันชื่อ
นางสาวณัติญา  สังเกตุเป็นนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
วันนี้มีความรู้สึกยินดีและดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาให้ความรู้เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง
แก่ท่านที่มีความสนใจ ณ ที่นี้ และบางท่านอาจมีความรู้อยู่แล้วบ้างในเรื่องโรคความตวามดันโลหิตน่ะค่ะ
-ผู้ให้ความรู้แนะนำตนเอง กล่าวทักทายผู้ฟังสร้างสัมพันธภาพมีการถามชื่อกันและให้ผู้ให้ความรู้พูดเรื่องสนุกเพื่อให้ผู้ฟังเกิดการหัวเราะและมีความสนใจในกิจกรรมที่จะเริ่มบรรยายความรู้ต่อไป
-ใช้ตัวผู้สอนเป็นสื่อในการสร้างบรรยากาศให้ผู้ร่วมกิจกรรม
-เพลงเพื่อใช้ในการสร้างสัมพันธภาพ
-สังเกตความสนใจของผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย
-สังเกตจากการซักถามของผู้ฟัง
-10 นาที
-ผู้พูดต้องเตรียมความพร้อมก่อนบรรยาย
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา

กิจกรรมให้       ความรู้

สื่อการสอน

การวัดและประเมินผล

หมายเหตุ
1.เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง
2.เพื่อให้ผู้ฟังสามารถบอกถึงอาการของโรคความดันโลหิตสูงได้
3.เพื่อให้ผู้ฟังสามารถบอกถึงสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงได้
4.เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้และสามารถรู้ถึงวิธีการรักษาของโรคความดันโลหิตสูงได้
5.เพื่อให้ผู้ฟังสามารถนำไปปฏิบัติได้
ความดันโลหิตสูง
ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปกติของคนเราคือ120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง
-อาการของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ เนื่องจากความดันโลหิตจะเพิ่มอย่างช้าๆทำให้ร่างกายโดยเฉพาะหลอดเลือดปรับตัวทันขึงไม่มีอาการ ผู้ป่วยความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมาด้วยโรคแทรกซ้อนโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงแนะนำให้วัดความดันทุก ปีสำหรับคนที่ความดันโลหิตปกติ อาการที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้แก่ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล
มึนงงDizziness
 ตามัว
-สาเหตุของความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงมีอยู่ 2 ชนิดได้แก่ โรคความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุPrimary hypertensionหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าessential hypertensionเป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุด กลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดมักจะมีสาเหตุหลายองค์ประกอบรวมกัน พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 95 เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มนี้ แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มความดันโลหิตสูงนี้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยดังต่อไปนี้
-การรับประทานอาหารเค็มซึ่งจากการศึกษาพบว่าการรับประทาน อาหารเค็ม จะมีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
-กรรมพันธุ์ เชื่อว่าพันธุกรรมจะมีผลต่อระบบฮอร์โมนทำให้มีการหลั่งสารเคมีมากไปRenin angiotensinมากทำให้ความดันโลหิตสูง
-ความผิดปรกติของหลอดเลือดเนื่องมาจากโรคอ้วน อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย
-โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
-การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง
สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง คือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันหรือยัง
-การรักษา
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด
-เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง
ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10%สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
รับประทานอาหารไขมันต่ำ
งดการสูบบุหรี่
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
ไปตามแพทย์นัด
ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต
-สัญญาณเตือนภัยของโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน
โรคความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ที่สำคัญคือหัวใจและสมอง โรคระบบทั้งสองจะมีอาการเตือนล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดความพิการ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก ส่วนโรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอ่อนแรง หรือเดินเซ เป็นต้นผู้ที่เป็นโรคความดันต้องเรียนรู้
-จะให้ผู้ฟังขึ้นมาเล่าถึงประสบการณ์การเป็นโรคความดันลิตสูง ว่าการเป็นโรคความดันโลหิตสูงเนี่ยเราจะสามารถอยู่และปรับตัวอย่างไรเพื่อให้เรานั้นใช้ชีวิตอย่างปกติ
-และนำเล่นเกมส์เล็กๆน้อยเพื่อให้บรรยากาศไม่น่าเบื่อ
-พักกินขนมว่าง
-power point
-วิดีโอ
-แผ่นพับ
-ตัวอย่างการเป็นโรคความดันโลหิต
ภาพประกอบ
-.สังเกตุความสนใจของผู้เข้าร่วมรับฟัง
-กระบวน
การแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์
-การกล้าที่จะออกมาแชร์ความรู้สึก
-ผู้ฟังสามารถเข้าใจถึงกรเป็นโรคความดันโลหิตสูง
-ให้ความรู้ประมาณ20นาที
- ให้ผู้ฟังออกมาเล่าแชร์ประสบการณ์10นาที
-เล่นเกมส์เละพักกินขนมว่าง 5นาที
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา

กิจกรรมให้       ความรู้

สื่อการสอน

การวัดและประเมินผล

หมายเหตุ


-จะพูดคุยสรุปกิจกรรม
-ให้เสนอความคิด ที่มีต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
-แจกของที่ระลึกใน
-ตัวผู้ให้ตวามรู้
-ตัวผู้ฟัง
-ของที่ระลึก
-การแสดงความคิดเห็นของผู้ฟัง

-พูดคุยสรุป5นาที
-เสนอควมคิดเห็น5นาที
-แจกของที่ระลึก5นาที

อ้างอิง
http://siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/index.htm
http://siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/symtom.html
http://siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/cause.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น