วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

สรุปโรค 14 โรค

สรุปโรคทางจิต
1.             Schizophrenia
                โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น โรคนี้พบได้ ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร
สาเหตุ
-          ด้านร่างกาย
                ทางพันธุกรรม ยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดกับผู้ป่วยมากยิ่งมีโอกาสสูงจากความผิดปกติของสมอง โดยสารเคมีในสมองมีความผิดปกติและจากโครงสร้างของสมองบางส่วนที่มีความผิดปกติเล็กน้อย
-          ด้านจิตใจ
 จากความเครียดในชีวิตประจำวัน เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วย
 การใช้อารมณ์กับผู้ป่วย การตำหนิ มีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรหรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากไปก็มีผลต่อการกำเริบของโรคได้
ลักษณะอาการ
        อาการเริ่มต้น อาจเกิดในแบบเฉียบพลันทันที หรือเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ ในกรณีที่อาการเริ่มต้นเป็นแบบค่อย เป็นค่อยไป จะมีอาการเริ่มต้นอย่างช้าๆ อาจมีอาการสับสน มีความรู้สึกแปลกๆ ไม่อยู่ในความเป็นจริง อาการ จะค่อยๆ มากขึ้น ทำให้ครอบครัวและคนรอบข้างรู้สึกว่าผู้ป่วยเปลี่ยนไปจากบุคลิกภาพเดิม อาทิเช่น แยกตัว ไม่อยากสุงสิงกับใครมีอาการ ระแวงคนอื่น มีปัญหาการนอนหลับ ไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงาน การเรียน ได้เหมือน ปกติ ค่อยๆ หมดความสนใจ สิ่งต่างๆ รอบตัว รวมถึง การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัว
การดูแลรักษา
การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการและลดการกำเริบซ้ำของโรค
การฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยฝึกการเข้าสังคมและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย
การทำจิตบำบัด โดยผู้เชี่ยวชาญพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและปัญหาของตนเองมากขึ้น
ครอบครัวบำบัด โดยแพทย์เป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องโรคและสิ่งที่ญาติควรปฏิบัติต่อผู้ป่วย
กลุ่มบำบัด เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผุ้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีเพื่อนคอยสนับสนุนให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

การวินิจฉัย
1. ความหลงผิดแปลก ๆ (เนื้อหาของความคิดเห็นได้ชัดว่าเหลวไหลและไม่มีทางเป็นจริงได้) เช่นหลงผิดว่าตนถูกควบคุมบังคับ ความคิดของตนถูกแพร่ให้คนอื่นทราบ ความคิดที่ไม่ใช่ของตนถูกนำมาใส่หัวตน หรือความคิดของตนถูกดึงออกไป เป็นต้น
2. มีความหลงผิดต่าง ๆ เช่น หลงผิดเกี่ยวกับเรื่องร่างกาย ศาสนา มี grandiose delusion, nihilistic delusion และอื่นๆ
3. หลงผิดว่าตนถูกปองร้าย หรือถูกอิจฉาริษยา
4. มีประสาทหลอนทางหู ซึ่งเป็นเสียงเดียวที่วิจารณ์พฤติกรรมหรือความคิดของผู้ป่วย หรือหลายเสียงพูดโต้ตอบกัน
5. มีประสาทหลอนทางหู ซึ่งมักจะพูดมากกว่า ๑ หรือ ๒ คำ เกิดขึ้นบ่อยๆ และไม่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์เศร้า หรือความรู้สึกเป็นสุข
6. การพูดไม่ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน มี loose association อย่างมาก ความคิดไม่มีเหตุผล หรือคำพูดมีเนื้อหาน้อยมาก

2.     Neurosis
       (Neurosis) เป็นโรคทางจิตประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม และอารมณ์ให้เหมือนคนทั่วไปได้ ด้วยสาเหตุจากความวิตกกังวล ความไม่สบายใจ จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มีความขัดแย้งในจิตใจ มีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล ซึ่งจะมีอาการแสดงออกตามมา โดยผู้ป่วยมักแสดงออกทั้งทางร่างกาย และจิตใจที่เห็นได้ชัด แต่ไม่รุนแรงเท่าโรคจิต ผู้ป่วยสามารถมีจิตนึกคิดตามเหตุการณ์ที่เป็นจริง รู้ตัวเองอยู่เสมอ ไม่มีอาการประสาทหลอนหรือเห็นภาพลวงตา หูแว่ว และสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป โรคนี้สามารถเกิดได้ในทุกวัยเริ่มตั่งแต่วัยเด็กจนถึงคนสูงอายุเลยทีเดียว
สาเหตุ
1. สาเหตุทางพันธุกรรม และโครงสร้างของร่างกาย ที่ทำให้เกิดความบกพร่องของร่างกาย เช่น การสูญเสียอวัยวะ การพิการแต่กำเนิด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นมูลเหตุทำให้เกิดความท้อแท้ และเป็นปมด้อยในชีวิตได้
2. สาเหตุทางสังคม และการใช้ชีวิต ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วทำให้การปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ทัน การถูกตอกย้ำทางสังคมในจุดด้อยที่ตนเองมี รวมไปถึงปัญหาชีวิตในด้านต่างๆ เช่น ความยากจน การหย่าร้าง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะทางประสาทตามมา
3. สาเหตุทางชีวะเคมี ที่เกิดจากภาวะร่างกายเจ็บป่วยหรือผิดปกติจากสาเหตุต่างๆ ทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีต่างๆผิดปกติ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท สมอง ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมของโรคทางประสาท
4. สาเหตุจากสารเสพติด ที่ผู้ป่วยมีการใช้สารเสพติดหรือสารที่มีผลต่อระบบประสาทมากเกินขนาดหรือสะสมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการทางประสาทตามมา
5. สาเหตุทางอายุ ในวัยเด็กเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัวอย่างรุนแรง เด็กมักจดจำได้นาน และเก็บฝังภายในจิตใจ รวมไปถึงจุดพร่องที่ตนเองมีในวัยเด็ก เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์เหล่านั้นก็มักจะเกิดความกลัวได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการเผชิญเมื่อเป็นวัยผู้ใหญ่ จะก่อให้เกิดความแปรปรวนของนิสัย เช่น การกัดเล็บ การดูดนิ้วมือ การปัสสาวะรดที่นอน บางรายอาจมีการกระตุกเกร็ง และบางคนมีความรู้สึกหวาดกลัว ส่วนวัยผู้สูงอายุ มักเกิดอาการทางประสาทได้ง่ายในภาวะที่จิตใจอ่อนแอหรือรู้สึกทอดทิ้ง
อาการ
1. มีอารมณ์เครียด วิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ
2. ชีพจรเต้นแรง เร็ว ใจสั่น มีอาการแน่นหน้าอก อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และปัสสาวะบ่อย
3. มีอาการเกร็งของระบบกล้ามเนื้อ มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก
4. มักมีความคิดซ้ำซาก ย้ำคิดย้ำทำ วนไปวนมา ในสิ่งที่ตนเองกังวล และมักคิดในแง่ร้าย ร่วมด้วยอาการกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
5. มีอาการเหม่อลอย ซึมเศร้า
6. มีอาการตกใจง่ายเมื่อมีเสียงดังหรือมีเหตุการณ์ที่น่าตกใจ

การรักษา
1. การใช้ยา  ในระยะการรักษาขั้นต้นอาจมีการใช้ยาหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือใช้ยาเพื่อ ลดอาการในระยะแรก ในการลดความวิตกกังวล เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาบำรุงประสาท เป็นต้น
2. การรักษาทางจิตใจหรือทางแพทย์เรียก จิตบำบัด ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัด เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดทำให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง  ยอมรับในความเป็นจริง
3. พฤติกรรมบำบัด วิธีนี้มักใช้ควบคู่ไปกับกระบวนการจิตบำบัด โดยการฝึกให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวลของตนเองด้วยวิธีการต่างๆ  สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า  เพื่อลดความเครียด และอาการที่อาจแสดงออกทางร่างกายจากภาวะวิตกกังวล
4. แต่หากผู้ป่วยบางรายสามารถรับรู้ถึงภาวะที่ตนเองเป็นอยู่ ก็อาจสามารถบำบัดอาการป่วยทางจิตไดด้วยตนเอง ด้วยการจัดการความเครียดหรือความวิตกกังวลด้วยวิธีต่างๆ เช่น การนั่งสมาธิ การเข้าวัดฟังธรรม การท่องเที่ยวหรือการปรึกษาคนใกล้ชิด

3.             major depressive disorder 
สาเหตุ
          1. ปัจจัยด้านชีวภาพ
                   1) พันธุกรรม พบว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องสูงในโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในกรณีของrecurrent depression โดยความเสี่ยงในญาติสายตรงร้อยละ 7
                   2) Neurotransmitter system ผู้ป่วยมี norepinephrine, serotonin ต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของ receptor ที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง
                   3) Neuroendocrine systems พบมีความผิดปกติในหลายระบบ ได้แก่
                   - Cortisol หลั่งมากและตอบสนองน้อยต่อการกระตุ้นด้วย dexamethasone
                   - Growth hormone หลั่งน้อยกว่าปกติ เมื่อถูกกระตุ้นด้วย clonidine
                   - Thyroid stimulation hormone (TSH) หลั่งน้อยกว่าปกติ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยthyrotropin releasing hormone (TRH)
          2. ปัจจัยด้านจิตสังคม
                   ผู้ป่วยมักมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น
                   แต่ละ personality disorder มีความเสี่ยงต่อการเกิด depression พอๆกัน และส่วนหนึ่งของผู้ป่วยมีการสูญเสียบิดามารดาก่อนอายุ 11 ปี

ลักษณะอาการ
                โรคทางอารมณ์ซึ่งรวมถึงโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder : MDD) ด้วย สามารถพบได้บ่อยถึง 10-20% ของประชากรทั่วโลก หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นโรคหัวใจ โรคเครียด โรคคิดมาก ครอบครัวหรือสังคมอาจมองว่าผู้ป่วยหนีปัญหาด้วยการร้องไห้เสียใจ องค์ การอนามัยโลก (WHO) มีการประมาณการณ์ว่าในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการสุญเสียมากที่สุดในทางเศรษฐกิจสังคม เพราะโรคนี้มักเป็นตั้งแต่วัยทำงานและเป็นเรื้อรัง ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาสภาวะพึ่งพิงคนอื่นๆในครอบครัว
โรคซึมเศร้า สามารถพบได้ในบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกเศรษฐสถานะ พบในผู้หญิงมาก กว่าผู้ชาย (ญ:ช =2:1) โรคนี้ไม่ได้ทำอันตรายต่อร่างกายจนทำให้เสียชีวิต แต่ความคิดที่ผิด ปกติจากโรคซึมเศร้า สามารถทำให้ผู้ป่วยมีมุมมองต่อตัวเองและคนอื่นผิดไป จนทำร้ายตนเองได้ ดังนั้นจึงเป็นความสูญเสียที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้

อาการ
                ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะมีอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ หมดความสนุก หรือหมดอาลัยตายอยาก (Anhedonia) คงอยู่นานตั้งแต่สองสัปดาห์ขึ้นไป โดยมีอาการด้านต่างๆ ดังนี้
-อาการทางบุคลิกภาพ เช่น มีอาการพูดช้า พูดเสียงเบา คิดช้า เคลื่อนไหวช้า แยกตัว บางรายมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย นั่งไม่ติด ต้องเดินไปมา
-อาการทางความคิด ผู้ป่วยซึมเศร้ามักมีความคิดมองโลกแง่ร้าย วิตกกังวล ขาดสมาธิและความมั่นใจ ในรายที่มีอาการมากๆ อาจหลงผิดมากจนเข้าขั้นโรคจิต (Psychosis) เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้ายตนเอง และคิดฆ่าตัวตายได้
ในเด็กและวัยรุ่น อาการแสดงจะแตกต่างจากผู้ใหญ่
-โดยเด็กเล็กมักแสดงออกด้วยอาการไม่ยอมไปโรงเรียน กังวลการแยกจากพ่อแม่ (Separation Anxiety)
-แต่ในเด็กโตจะมีอาการปวดตามตัว รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง และตามมาด้วยปัญหาการเรียน
-สำหรับวัยรุ่นอาจแสดงออกเป็นอารมณ์ฉุนเฉียว แยกตัว หนีเรียน และรุนแรงจนถึงการใช้ยาเสพติด

การรักษา
                การรักษาโรคซึมเศร้าประกอบด้วยการใช้ยาต้านเศร้าและจิตบำบัด จิตแพทย์จะประเมินผู้ ป่วย และวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยอย่างละเอียด
โดยส่วนใหญ่ โรคซึมเศร้าสามารถรักษาเป็นผู้ป่วยนอกได้ ยกเว้นกรณีอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น ติดยาเสพติด หรือคิด หรือพยายามฆ่าตัวตาย จึงจำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน
กระบวนการรักษา ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน จึงสามารถบอกได้ว่าตอบสนองต่อการรัก ษาหรือไม่ และจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 ปี

การวินิจฉัย
                การไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการโรคซึมเศร้า อาจเป็นเรื่องน่าตกใจ ทั้งนี้เพราะว่าสังคมไทยยังมองคนที่พบจิตแพทย์ว่า ไม่สมประกอบ แต่ทั้งนี้ในมุมมองทางการแพทย์เห็นว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบระยะยาวตามมา
การปรึกษาจิตแพทย์ในครั้งแรก อาจใช้ระยะเวลาประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แพทย์จะประเมินอาการ ตรวจร่างกาย และตรวจสุขภาพจิตเบื้องต้น (การตรวจทางจิตเวช เป็นการพูดคุย และ/หรือ ดูภาพต่างๆ) เพื่อวินิจฉัยโรคซึมเศร้า ตามเกณฑ์การวินิจฉัย
                มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย ข้อ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อ 1) หรือ ข้อ 2) หนึ่งข้อ ทั้งนี้ต้องมีอาการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย สัปดาห์
-ความสนใจหรือความเพลินใจในสิ่งต่างๆลดลงอย่างมาก
-เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดลงมากกว่า 5% ใน 1เดือน
-นอนไม่หลับ หรือ นอนมากกว่าปกติ
-รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือ รู้สึกผิด
-สมาธิลดลง ลังเลใจ
-คิดเรื่องการตาย หรือการฆ่าตัวตาย
อาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน หรือทำให้การประกอบอาชีพ การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญ บกพร่องลงอย่างชัดเจน
จากเกณฑ์การวินิจฉัย จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยสามารถประเมินตนเองเบื้องต้นว่า ตัวเองมีอา การเข้าได้กับโรคซึมเศร้าก่อนไปพบแพทย์ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอาการของตนเองกับแพทย์ ช่วยให้กระบวนการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องมากขึ้น

4.             generalized anxiety disorder
สาเหตุ
      ปัจจัยแรก ได้แก่ กรรมพันธุ์ เช่น ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรควิตกกังวล โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้สูง ขึ้น หรือลักษณะพื้นอารมณ์แบบไม่แสดงออก (Behavioral Inhibition)
      ในปัจจัยที่ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เช่น เด็กเลียนแบบพฤติกรรมหลีกเลี่ยงอุปสรรค (Harm Avoidance) จากพ่อแม่ ทำให้เด็กกลัวการเข้าสังคม

อาการ
                ด้านแรกได้แก่ อาการทางกาย ซึ่งเกิดจากการตอบสนองทางระบบประสาทอัตโนมัติมากเกิน ไป เช่น เหงื่อแตก ใจสั่นหายใจเร็ว ปวดท้องเกร็ง ในผู้ป่วยโรคแพนิกบางรายอาจมีอาการรุน แรงขนาดทำให้เกิดภาวะมือจีบ (การเกร็งของนิ้วมือ) และหมดสติได้ อย่างไรก็ตามอาการทางกายมักเป็นแค่ชั่วคราว โดยเฉพาะเวลาที่มีตัวกระตุ้น
                อาการอีกด้าน ได้แก่ กลุ่มอาการทางความคิดหมกมุ่น ซึ่งมักเป็นเรื้อรังมากกว่า ทั้งที่ผู้ป่วยรู้ตัวดีว่าความคิดไร้เหตุผล แต่ก็ไม่สามารถกำจัดความคิดเหล่านั้นออกไปได้ เช่น ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ จะมีความคิดว่า ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไป จะมีความกังวลล่วง หน้าในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ในผู้ป่วยหลายราย อาการทางกายและทางความคิดมีความสำคัญอย่างชัดเจน เช่น เมื่อมีอาการใจสั่น ผู้ป่วยก็เริ่มกังวลว่าจะเป็นโรคหัวใจอันตราย เมื่อกังวลมากขึ้นก็ยิ่งทำให้ใจสั่นมากขึ้น มีอาการเหล่านี้กลับไปมาตลอดเวลา จนเป็นวงจรของโรควิตกกังวล

การวินิจฉัย
      การวินิจฉัยโรควิตกกังวล ในเบื้องต้น แพทย์จำเป็นต้องประเมินอาการของโรคทางกาย ที่อาจมีอาการคล้ายโรควิตกกังวล เช่นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคไทรอยด์เป็นพิษ อาจมีการเจาะเลือดในผู้ป่วยบางราย เพื่อยืนยันโรคทางกาย หลังจากนั้นจิตแพทย์จะประเมินอาการโดยการสัมภาษณ์ และตรวจสุขภาพจิตว่าอาการเข้าได้กับโรควิตกกังวลกลุ่มใด ทั้งนี้ เกณฑ์อา การต่างๆทางการแพทย์ (ที่ได้จากการประเมินของแพทย์) ในการวินิจฉัยโรควิตกกังวล มีความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปพบแพทย์

การรักษา
                การทำจิตบำบัด จะเน้นการเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าอย่างเป็นขั้นตอน (Systematic Desensitization) โดยเริ่มจากสิ่งเร้าที่กังวลน้อยไปสู่สิ่งเร้าที่กังวลมาก อย่างค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกควบคุมกล้ามเนื้อและควบคุมการหายใจ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ระบบประ สาทอัตโนมัติทำงานรวดเร็วเกินไป และนอกจากนี้ ยังมีการปรับความคิดเพื่อปรับพฤติกรรม(Cognitive Behavioral Therapy) เพื่อขจัดความคิดเชิงลบที่เป็นสาเหตุของความวิตกกังวล การทำจิตบำบัดจะมีรูปแบบที่ชัดเจน และมักจะรวมไปถึงการมอบหมายการบ้านให้ผู้ป่วยไปทำ เช่น ทดลองเผชิญหน้ากับสิ่งที่กังวลทีละนิด หรือ จดบันทึกอารมณ์ เพื่อประเมินความกังวลในแต่ละช่วงเวลา
ยารักษาโรควิตกกังวลที่ใช้รักษา แบ่งได้เป็น กลุ่ม
                กลุ่มแรกคือยาต้านเศร้า (Antidepressant) ที่นิยมใช้คือ ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์กับสารสื่อประสาท ชนิดที่เรียกว่า Serotonin เช่น ยา Fluoxetine และ ยา Sertraline ยานี้มีผลข้างเคียงน้อย เช่น คลื่นไส้อาเจียน หรือวิงเวียนศีรษะ มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานตามขนาดที่แพทย์สั่ง แต่มีข้อเสียที่จำเป็นต้องรับประทานยาอย่างน้อย 2สัปดาห์ขึ้นไป จึงสามารถบอกผลการรักษาได้ ดังนั้นในช่วง สัปดาห์แรกของการรักษา แพทย์จึงต้องให้ยากลุ่มที่ 2
                                ยากลุ่มที่ คือยาคลายกังวล (Anxiolytic) เช่น ยา Alprazolam, Clonazepamหรือ Lorazepam ซึ่งยามักออกฤทธิ์ทันที ช่วยลดการตื่นตัวของระบบประสาท และช่วยให้นอนหลับ เนื่องจากยากลุ่มที่ นี้ มีฤทธิ์ง่วงซึม จึงควรระมัดระวังถ้ารับประทานยาในช่วงเวลาทำงาน

5.              personality disorder
 สาเหตุ
                1. ลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด เช่น ลักษณะประจำตัวเด็กแต่ละคน หรือการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เช่นมีผู้พบว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาลมักจะมีบิดามารดาเป็นอันธพาล แม้ว่าจะได้แยกเด็กไปให้คนอื่นเลี้ยงตั้งแต่วัยเด็กแล้วก็ตาม นอกจากนั้นยังพบว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาลจะมีลักษณะของคลื่นสมองผิดปกติบ่อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (Goodwin และ Guze ค.ศ. ๑๙๗๙)                                                        2. การพัฒนาทางบุคลิกภาพ เช่น การอบรมเลี้ยงดูอย่างขาดความอบอุ่นในวัยทารก อาจทำให้ทารกนั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ซึ่งขาดความไว้วางใจสิ่งแวดล้อม หรือยึดติดกับการพัฒนาทางบุคลิกภาพในระยะปาก คือ เป็นคนรับประทานจุกจิก ปากจัด ชอบวิจารณ์ หรือติดสุราและยาเสพติด การเข้มงวดกวดขันเกี่ยวกับการขับถ่ายในวัย ๑-๓ ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ความสุขของเด็กอยู่ที่ทวารหนัก ก็อาจทำให้เด็กคนนั้นกลายเป็นคนพิถีพิถัน เจ้าระเบียบ เคร่งครัดในคุณธรรม หรือกังวลเรื่องความสะอาดมากเกินไป                                                                        3. ประสบการณ์ในวัยเด็กอาจส่งเสริมพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น                                                                               เมื่อทำไม่ดีแล้วได้รับรางวัล เช่น เมื่อเด็กต้องการอะไรซึ่งพ่อแม่ไม่ต้องการให้เด็กจะร้องเสียงดังลงดิ้นกับพื้น หรือกระแทกศีรษะกับฝาผนัง ทำให้พ่อแม่จำต้องยอมให้สิ่งที่เด็กต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ เด็กจะมีนิสัยเอาแต่ใจตน และแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อถูกขัดใจ                                                                                                    การถูกอบรมเลี้ยงดูที่เคร่งครัดเกินไป การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรน และขาดเหตุผลต่อเด็ก เมื่อเด็กประพฤติผิดไปจากสิ่งที่พ่อแม่กะเกณฑ์ไว้ก็จะตำหนิหรือลงโทษเด็ก โดยไม่ยอมรับฟังเหตุผลจากเด็ก อาจทำให้เด็กเป็นผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าว และประพฤติตรงกันข้าม กับที่พ่อแม่ต้องการ                                                      การที่บิดามารดาหรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ เด็กอาจลอกเลียนลักษณะที่ผิดปกติเหล่านั้นได้                                                                                                                                                                 ปัจจัยทางจิต-สังคม (psychosocial factor) มีผู้ศึกษาบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาล พบว่าบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม และมีภูมิลำเนาอยู่ในเมือง บิดามารดามักทะเลาะกันเป็นประจำหรือแยกทางกัน ติดสุราหรือยาเสพติด หรือมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล เพราะฉะนั้นปัจจัยทางจิต-สังคมอาจมีส่วนเป็นสาเหตุของบุคลิกภาพแปรปรวนได้เช่นกัน (Goodwin และ Guzeค.ศ. ๑๙๗๙)                                                                                                                                 ความผิดปกติในหน้าที่ของสมอง เช่น โรคลมชัก การอักเสบของสมองArte­riosclerotic brain disease, Senile dementiaและ Alcoholism ฯลฯ ทำใหบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้

การวินิจฉัย 
                1 มีความระแวงสงสัยอย่างมากโดยไม่มีเหตุผล และขาดความไว้วางใจผู้อื่น โดยแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ
- คาดว่าผู้อื่นมีเล่ห์เหลี่ยม หรือเป็นอันตรายต่อตน
- ระมัดระวังตัวมากเกินไป โดยการพินิจพิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อค้นหาว่ามีการคุกคามต่อตนหรือไม่ หรือระมัดระวังตัวมากโดยไม่จำเป็น
- ปิดบัง หรือมีความลับ
-  ไม่ยอมรับการตำหนิอย่างมีเหตุผล
-  ไม่ไว้ใจผู้อื่นว่าจะซื่อสัตย์ต่อตน
-  สนใจเกี่ยวกับส่วนเล็กๆ น้อยๆ ของเรื่องต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องทั้งหมด
-  สนใจเกี่ยวกับเบื้องหลังที่เคลือบแฝง และความหมายพิเศษของสิ่งต่างๆ
-  อิจฉาริษยา
                2  อารมณ์หวั่นไหวง่าย โดยแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
- ถือโกรธในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ โดยง่าย
- ทำปัญหาเล็กให้เป็นปัญหาใหญ่
-  พร้อมที่จะต่อสู้เมื่อถูกคุกคาม
-  ไม่สามารถผ่อนคลายความตึงเครียดของตนเองได้
                3. อารมณ์แคบ (restricted affectivity)ซึ่งแสดงลักษณะต่อไปนี้อย่างน้อย ๒ ประการ คือ
-  ลักษณะภายนอกดูชาเย็น และไม่มีอารมณ์
-  มักทำอะไรโดยอาศัยแต่เหตุผล ไม่คำนึงถึงอารมณ์หรือความรู้สึกเลย
-  ขาดอารมณ์ขันอย่างแท้จริง
-  ไม่มีความรู้สึกอ่อนโยน หรือความรู้สึกซาบซึ้งในเรื่องต่างๆ

การรักษา
                การรักษาปัญหาบุคลิกภาพแปรปรวนเป็นสิ่งที่ลำบากมาก เพราะบุคคลผู้นั้นมักไม่มีความต้องการจะรักษา การมาพบแพทย์มักเนื่องจากผู้อื่น เช่น บิดามารดา คู่สมรส หรือนายจ้าง รบเร้าให้มา แต่ก็มีบางรายที่มาเพราะกังวลจากผลสะท้อนทางสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมของตน หรือเพราะเริ่มค่อยๆ เข้าใจว่าตนผิดปกติ หลักการรักษาคือ
                1. จิตบำบัดอย่างลึก (intensive psychoanalytically oriented psychotherapy)
                2. จิตบำบัดเฉพาะตัว (individual therapy) การรักษาจะมุ่งเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดปกติมากกว่าจะมุ่งที่ความขัดแย้งภายในจิตใจ
                3. จิตบำบัดกลุ่

ลักษณะอาการ
                บุคลิกภาพแปรปรวน เป็นบุคลิกภาพที่แตกต่างจากบุคลิกภาพของคนส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก และเป็นอยู่นาน แต่โดยทั่วไปจะไม่ทำให้เกิดอาการที่รบกวนบุคคลผู้นั้น ดังนั้นบุคคลซึ่งมีบุคลิกภาพแปรปรวนจึงมักจะไม่มาขอความช่วยเหลือจากแพทย์ด้วยตนเอง แต่โดยที่บุคคลซึ่งมีบุคลิกภาพแปรปรวนจะทนต่อความตึงเครียดและความคับข้องใจได้น้อยกว่าคนธรรมคา เช่น เมื่อมีความกดดันเพียงเล็กน้อยเขาอาจวิตกกังวลอย่างมาก หรือถ้าความกดดันมากพอควรเขาอาจเกิดอาการของโรคจิตชั่วคราวได้ รวมทั้งความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมักบกพร่องไป ทำให้บุคคลผู้นั้นทรงชีวิตอยู่ในสังคมโดยมีความสุขและความสำเร็จน้อยกว่าที่ควร ยกเว้นในบางอาชีพซึ่งยอมรับและส่งเสริมบุคลิกภาพแปรปรวนบางแบบ เช่น อาชีพที่เกี่ยวกับการบันเทิงหรือการแสดงมักยอมรับบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบรักตนเองหรือแบบฮีสทีเรีย บุคคลที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน แบบที่กล่าวนี้จึงอาจประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตได้บ้า

6. Adjustment disorder
                คือ ความผิดปกติในการปรับตัวต่อเหตุการณ์ภายนอก ที่ส่งผลกดดันจิตใจผู้ป่วย
อยู่ในกลุ่มโรคประสาท (neurotic, stress-related disorders)
ความผิดปกตินี้จะแสดงออกมาในด้านความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
-ระยะเวลาที่เกิดมักภายใน 3 เดือนหลังได้รับความกดดัน
-อาการนี้เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตผู้ป่วย ไม่ใช่เป็นการกำเริมของโรคทางจิตเวชที่เป็นอยู่ก่อน

การวินิจฉัย
-รู้สึกทุกข์ทรมารอย่างมากเกินกว่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการเผชิญเหตุการณ์นั้นๆ
-กิจกรรมด้านสังคม หรือ การงาน/การเรียน บกพร่องลงอย่างสำคัญ
C.ความผิดปกติที่เกิดนั้นไม่ได้เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคใน AxisI อื่นๆ และไม่ใช่เป็นการกำเริบของโรคใน AxisI,II
D.ไม่ใช่อาการจากปฎิกิริยาในการสูญเสียทั่วไป
E.เมื่อเหตุการณ์(ผลตาม)สิ้นสุดลงอาการจะคงอยู่ต่อไปไม่นานกว่า 6 เดือน
Acute ความผิดปกตินานน้อยกว่า 6 เดือน หากมากกว่า เป็น Chronic

อาการ
มีอาการเด่นได้หลายแบบ
1.-อารมณ์ซึมเศร้า หรือรู้สิ้นหวัง : with depressed mood
2.-ความวิตกกังวลหรือ jitterinessในเด็กกลัวพลัดพราก : with anxiety
3.-ความประพฤติผิดปกติ ละเมิดสิทธิผู้อื่น ผิดกฎหรือบรรทัดฐานสังคม : with disturbance of conduct
เช่น หนีเรียน ทำลายสมบัติสาธารณะ ขับรถประมาท ชกต่อย ไม่ยอมรับผิดชอบทางกฎหมาย

การรักษา
จิตบำบัดดีสุด เนื่องจากผู้ป่วยพยายามที่จะปรับตนเองอยู่แล้ว อาจทำรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ยาที่ใช้
1.กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า เช่น sertraline
2.กลุ่มยาลดวิตกกังวล เช่น alprazolam, clonazepamRef.
          
7. dementia
                โรคสมองเสื่อม (dementia) เป็นกลุ่มอาการซึ่งเกิดมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อม ๆ กัน แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ พฤติกรรม และส่งผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวัน
 สาเหตุ    คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และการสูบบุหรี่

อาการ
                 ผู้ป่วยสมองเสื่อมในระยะแรกอาจมีอาการไม่มากนัก โดยเฉพาะอาการหลงลืม และยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่จะทรุดหนักเมื่อเวลาผ่านไป อาการดำเนินแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาด้านพฤติกรรม และอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ ตามมา ซึ่งอาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยสมองเสื่อมมีดังนี้
                -  ความจำเสื่อม โดยเฉพาะความจำระยะสั้น หรือมีความบกพร่องในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันมากเกินวัย เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุใกล้เคียงกัน เช่น การวางของแล้วลืม จำนัดหมายที่สำคัญไม่ได้ ลืมไปแล้วว่าเมื่อสักครู่พูดอะไร ใครมาพบบ้างในวันนี้ และหากมีความรุนแรงมากขึ้นความจำในอดีตก็จะเสื่อมด้วย
              ไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้ เช่น ลืมไปว่าจะปรุงอาหารชนิดนี้ได้อย่างไร ทั้งที่เคยทำ
                มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ เรียกชื่อคนหรือสิ่งของเพี้ยนไป ลำบากในการหาคำพูดที่ถูกต้อง ทำให้ผู้อื่นฟังไม่เข้าใจ
               มีปัญหาในการลำดับทิศทางและเวลา ทำให้เกิดการหลงทาง หรือกลับบ้านตัวเองไม่ถูก
              สติปัญญาด้อยลง การคิดเรื่องยาก ๆ หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อยได้ มีการตัดสินใจผิดพลาด
              วางของผิดที่ผิดทาง เช่น เอาเตารีดไปวางในตู้เย็น เอานาฬิกาข้อมือใส่เหยือกน้ำ เป็นต้น
              อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เช่น เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวก็สงบนิ่ง
              บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึมเศร้าหรืออาจจะมีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก ๆ อาจไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แม้แต่การอาบน้ำ เข้าห้องน้ำ จึงต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา

ระยะดำเนินโรค
           1.ระดับอ่อนหรือไม่รุนแรง (Mild) เป็นระดับที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น ลืมว่าวางของไว้ไหน จำชื่อคนหรือสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ ส่วนความจำในอดีตยังดีอยู่ เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคมอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยยังสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ และการตัดสินใจยังค่อนข้างดี
           2.ระดับปานกลาง (Moderate) ในระยะนี้ความจำจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เช่น ไม่สามารถคำนวณตัวเลขง่าย ๆ ได้ เปิดโทรทัศน์ไม่ได้ ทำอาหารที่เคยทำไม่ได้ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เคยทำได้มาก่อน ลืมแม้กระทั่งชื่อคนในครอบครัว ในช่วงท้ายของระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน ผู้ป่วยในระยะนี้เริ่มไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การปล่อยให้อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตรายจำ เป็นต้องอาศัยผู้ดูแลตามสมควร
          3.ระดับรุนแรง (Severe) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย แม้แต่การทำกิจวัตรประจำวัน ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา แม้แต่ความจำก็ไม่สามารถจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้เลย จำญาติพี่น้องไม่ได้ หรือแม้แต่ตนเองก็จำไม่ได้มีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า หรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้ แม้แต่สุขอนามัยของตนเองก็ดูแลไม่ได้ เช่น กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

 สาเหตุ
                 ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่ามีความผิดปกติในเนื้อสมอง ซึ่งจะพบลักษณะที่สำคัญ ประการคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (neurofibrillary tangles) และมีสาร beta amyloidในสมอง
ใยประสาทที่พันกัน ทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมองและการที่สมองมีคราบ Beta amyloid หุ้ม ทำให้ระดับสารสื่อประสาท acetylcholine ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเรียนรู้และความจำในสมองลดลง

การวินิจฉัยโรค
          เมื่อมีอาการน่าสงสัยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการทดสอบภาวะของความจำหากผลตรวจน่าสงสัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเช่น ตรวจร่างกายและเลือดทั่วไปเพื่อคัดแยกโรคต่าง ๆที่เกิดขึ้นภายนอกสมองที่มีผลต่อความจำหรือทำให้สมองเสื่อมเมื่อแยกโรคทั่วไปออกแล้ว แพทย์ก็จะทำการตรวจปัญหาที่เกิดขึ้นในสมองซึ่งจะต้องแยกโรคติดเชื้อเนื่องอกโพรงน้ำไขสันหลังขยายตัวเส้นเลือดตีบออกไปจากภาวะสมองเสื่อมหรือฝ่อการถ่ายภาพสมองโดยเครื่อง CT MRI หรือ PET Scanก็จะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง

การรักษา
         -  รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
          ระวังการใช้สารที่อาจเกิดอันตรายต่อสมอง เช่น การดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
          ระวังปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่
          การฝึกสมอง พยายามทำกิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ เช่น อ่านหนังสือวาดรูป คิดเลข เล่นเกมตอบปัญหา การดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ที่ไม่ซ้ำซากจำเจเช่น ลองเปลี่ยนเส้นทางเดินทางที่เคยใช้ประจำลองใช้ประสาทสัมผัสอื่นที่ไม่ค่อยได้ใช้ เช่น ฝึกเขียนหนังสือหรือแปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ถือเป็นการออกกำลังสมองอย่างหนึ่ง
          ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

8. Mental Retardation
                โรคปัญญาอ่อน (Mental Retardation) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสังคม ประมาณว่ามีคนเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ ของประชากรทั้งประเทศ นั่นคือ ประเทศไทยเรามีคนปัญญาอ่อนประมาณ แสนคน ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นระดับน้อย แต่เมื่อเกิดโรคนี้ในครอบครัวใด ทำให้เกิดความสูญเสียตามมาได้มาก
ผู้ป่วยโรคปัญญาอ่อนที่มารับบริการในสถานพยาบาลสาธารณสุขทั่วประเทศ ในปี พ.ศ 2540-2544 มีจำนวนอัตราต่อแสนประชากร คือ 44.76, 52.94, 58.28, 52.48 และ 51.71 เฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ4.24 โดยผู้ป่วยปัญญาอ่อนมารับบริการในสถานบริการเฉพาะด้านจิตเวชมีอัตรา 4.80, 8.36, 8.86, 13.9 และ 16.97 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.78 อาจจะเนื่องมาจากการรักษาผู้ป่วยปัญญาอ่อนต้องใช้ความชำนาญเฉพาะ จึงทำให้มีผู้มารับบริการเฉพาะทางเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยโรคปัญญาอ่อนมารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขทั่วไปมีอัตราต่อแสนประชากรคือ 36.73, 43.00, 45.21, 38.57 และ 34.74 โดยมีแนวโน้มลดลงร้อยละเฉลี่ย 0.06
เนื่องจากโรคปัญญาอ่อน เป็นภาวะจำกัดของสติปัญญาและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม คนปัญญาอ่อนจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าคนปกติทั่วๆ ไป จนทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ เรียนหนังสือ ทำงานหรือถ้าเป็นมากๆ อาจไม่สามารถช่วยตัวเองได้
ปัญญาอ่อนเป็นกลุ่มอาการของพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความผิดปกติในความสามารถด้านสติปัญญา และพฤติกรรมการปรับตัว ดังนั้น บุคคลปัญญาอ่อนมักจะมีปัญหาทางจิตเวชได้เหมือนบุคคลทั่วไป พบว่า บุคคลปัญญาอ่อนขนาดรุนแรงมีปัญหาทางจิตเวชร้อยละ 47บุคคลปัญญาอ่อนขนาดน้อยมีปัญหาทางอารมณ์ พัฒนาการเบี่ยงเบนและต่อต้านสังคมสูงกว่าบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ภาวะปัญญาอ่อนเกิดขึ้นในสังคม ทุกเชื้อชาติ ก่อให้เกิดปัญหาต่อครอบครัวและสังคม
โดยทั่วไปปัญญาอ่อน หมายถึง ภาวะที่เกิดจากความผิดปกติทางสติปัญญาซึ่งเกิดขึ้นในระยะพัฒนาการของสมองตั้งแต่บุคคลนั้นปฏิสนธิจนถึงอายุ 18 ปี โดยจะปรากฏความผิดปกติในความสามารถด้านสติปัญาและพฤติกรรมการปรับตัว

อาการ
1.             พฤติกรรมที่แสดงความสามารถต่ำกว่าคนในอายุเดียวกัน เช่น ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา การปรับตัว ในเด็กเล็กจะเห็นพัฒนาการช้ากว่าเกณฑ์ปกติ
2.             วัดระดับสติปัญญา (ไอคิว) ได้ต่ำกว่า 70
3.             อาการมักเป็นตั้งแต่เกิด และเป็นต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
4.             ผู้ที่เป็นโรคปัญญาอ่อน มักจะพบอาการมาตั้งแต่วัยเด็ก เริ่มต้นจากพัฒนาการทุกด้านจะช้า เช่น ยืนช้าเดินช้าพูดช้าความเข้าใจกฏเกณฑ์ และสังคมจะช้า ความจำไม่ดี สอนให้ทำอะไรจะทำได้ช้าและลืมง่าย เมื่อเข้าสู่วัยอนุบาล ครูจะเห็นพัฒนาการทุกด้านช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน เมื่อเข้าสู่วัยประถมก็มักจะเรียนช้า,ทำงานช้าสอบตกซ้ำชั้น ถ้าปัญญาอ่อนมากก็เรียนไม่ได้เลย
สาเหตุ
1.             เกิดจากโรคทางสมอง หรือโรคทางกายที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท เช่น แม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ แม่ติดสารเสพติด ได้รับยาหรือสารพิษระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดผิดปกติ โรคขาดสารไอโอดีน ขาดเหล็ก หรือทารกที่ได้รับสารตะกั่ว สารปรอทตั้งแต่เด็ก
2.             สาเหตุจากพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
3.             ปัญญาอ่อนเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุของเด็ก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งสมองได้พัฒนาเต็มที่ คือ อายุประมาณ 18 ปี อาจจะเกิดในช่วงขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด รวมไปถึงปัญญาทางกรรมพันธุ์ และที่ไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าจะได้พยายามตรวจอย่างละเอียดแล้วก็ตาม
4.             อาจเกิดจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น จากสมอง ได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือจากการใช้เครื่องมือช่วยในการทำคลอด การใช้สารเคมีในขณะตั้งครรภ์ขณะคลอด และหลังคลอด บางรายเกิดจากกัมมันตภาพรังสี โดยเฉพาะในรายที่รับการบำบัดทางรังสีวิทยา เป็นต้น
5.             อาจเกิดจากปัจจัยทางจิตและสังคม ได้แก่ ความผิดปกติในปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เลี้ยงดูกับเด็ก ความผิดปกติทางจิตของผู้เลี้ยงดูเด็ก หรือของเด็กเอง

การป้องกัน
1.             การป้องกันโรคทางกายที่จะเกิดขึ้นในแม่ขณะตั้งครรภ์
2.             การฝากครรภ์ และดูแลสุขภาพแม่ให้แข็งแรง
3.             การคลอดที่ปกติ การดูแลหลังคลอดที่ดี
4.             ระวังอุบัติเหตุทางสมอง และการได้รับสารพิษ

9. psychophysiologic disorder
                ลักษณะของการนอนไม่หลับ แบ่งเป็น 3ชนิดคือ
1. นอนไม่หลับชั่วคราว (Transient insomnia) สาเหตุเพราะมี สถานการณ์ บางอย่างที่ทำให้
ต้องคิดกังวลหรือปรับตัว เช่น มีเหตุการณ์ตึงเครียดเสียใจเกิดขึ้นฉับพลัน หรือการเดินทางเปลี่ยนสถาน
ที่นอนการเจ็บป่วยฉับพลัน เมื่อสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้นก็จะสามารถ นอนหลับ ได้ปกติ ในกรณีนี้อาจใช้ยา
คลายกังวล  ยานอนหลับช่วยให้หลับสั้นๆ ได้ มักหลับได้ปกติใน 2-3 วัน
2. นอนไม่หลับเป็นระยะๆ (Intermittent insomnia) มักเป็นกลุ่มที่มี อาการต่อเนื่องจากกลุ่ม
ที่ เนื่องจากสถานการณ์ต้นเหตุยังคอยกระตุ้นเป็นระยะๆ ทำให้มีอาการ ไม่หลับที่เกิดขึ้นซ้ำๆ บ่อยๆ
เป็นระยะๆ
3. นอนไม่หลับเรื้อรัง (chronic insomnia) มีอาการนอนไม่หลับเป็นประจำ ติดต่อกันเป็นเวลา
นานเกินกว่า สัปดาห์ มีสาเหตุได้หลายอย่าง ได้แก่ การเจ็บป่วยทางกายต่างๆ โรคทางกายบางอย่างที่เกี่ยว
ข้องกับการนอน เช่น การนอนกรน โรคทางจิตเวชต่างๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคจิต
ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง โดยไม่มีสาเหตุ กระตุ้นที่ชัดเจน (psychophysiologic
insomnia) ในกลุ่มนี้มักเกิดจากความเคยชิน ในการปฏิบัติตัว หรือมี พฤติกรรมบางอย่างที่รบกวนต่อการ
นอนหลับ การรักษาอาการนอนไม่หลับ เรื้อรัง จึงต้องรักษา ทั้งต้นเหตุและการฝึกให้มีสุขอนามัยการนอน
(sleep hygiene) ร่วมกับ มีพฤติกรรมที่ดีในการนอน (Behavioral intervention)

สาเหตุของการนอนไม่หลับ 
1. มีการเจ็บป่วยทางกายเช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจปวด หรือมีการเจ็บ ปวดตามที่ต่างๆ ของร่างกาย
    โรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับบางชนิด จำเป็นต้องรักษาโรคต้นเหตุ เมื่อการเจ็บป่วยทางกายทุเลาลงมัก
    ทำให้ การนอนหลับดีขึ้น
2. มีปัญหาทางจิตใจ เป็นสาเหตุใหญ่ในผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ เป็นระยะๆ และไม่หลับเรื้อรัง
    ปัญหาส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับความวิตกกังวล (anxiety) โรคซึมเศร้า หรือระยะแรกของอาการทางจิต
    สาเหตุต่างๆ ที่กล่าวนี้มีผลต่อการนอนหลับ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อ ประสาท ในสมอง
    (Neurotransmitters) การรักษาจึงต้องใช้ยาและการแก้ปัญหา ต้นเหตุเป็นหลัก ร่วมกับการมี
    พฤติกรรมการนอนที่ดี
3. การใช้สารเสพติดต่างๆ กาแฟมีสารคาเฟอีนซึ่งกระตุ้น ประสาท ให้ตื่นและลดระยะเวลาหลับตลอดคืน
    (Total sleep time) กาแฟ แก้ว มีคาเฟอีนเฉลี่ย100 มิลลิกรัม ชา โคลา มีประมาณ 50-75 มิลลิกรัม
    ฤทธิ์ของคาเฟอีนอยู่ได้นานถึง 8 -14 ชม. แตกต่างกันในแต่ละคน คนที่มี ปัญหา นอนไม่หลับและดื่ม
    กาแฟช่วงบ่ายถึงดึก จึงหลับยากยิ่งขึ้น และผู้ที่มี ปัญหา การนอนหลับรุนแรงควรหยุดคาเฟอีนเด็ดขาด
    6-10 สัปดาห์ จะช่วยให้ผลการรักษาได้ผลดีขึ้น
               เหล้า (Ethanol) การดื่มเหล้าปริมาณเล็กน้อย (จิบก่อนกินอาหารหรือ ก่อนเข้านอน จะช่วยให้เกิดการ
    ผ่อนคลายและทำให้หลับได้ แต่ถ้าดื่มใน ปริมาณมากขึ้นกว่าการจิบเล็กน้อย) (เช่น การดื่มทางสังคมใน
    ปริมาณมากกว่า เบียร์ 12 ออนซ์ไวน์ ออนซ์ หรือวอดก้า 1.5 ออนซ์) จะให้ผลในทาง กระตุ้นต่อระบบ
    ประสาท (Sympathetic arousal) ทำให้คุณภาพ การนอนไม่ดี ตื่นกลางดึก ฝันตึงเครียด เหงื่อแตก
    ปวดหัว กดการหายใจ ขณะหลับ เป็นต้น ในผู้ที่ติดเหล้าเมื่อหยุดดื่มจะเกิดอาหารประสาทหลอน
    ไม่นอนหลับติดต่อกันหลายๆ วันได้ เหล้าจึงไม่ใช่ยานอนหลับที่ดีหรือ ปลอดภัยเลย
                    บุหรี่ มีสารนิโคติน ถ้าสูบในขนาดน้อยๆ จะให้ผลผ่อนคลาย และ ง่วงหลับ ได้ แต่ถ้าสูบติดต่อกันหลาย
    มวน จะให้ผล ในทางตรงกันข้าม คือ กระตุ้นประสาท (cholinergic activity) ดังนั้นการสูบบุหรี่ก่อน
    เข้านอน หรือ ขณะตื่นกลางดึก จึงทำให้หลับยากยิ่งขึ้น
               ทั้งเหล้าและกาแฟ บุหรี่จึงมีผลต่อการนอนหลับที่ดี และหากใช้ทั้ง อย่างพร้อมๆ กันย่อมส่งผลรบกวน
    การนอนหลับมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ ในคนอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปจะมีผลรบกวนการนอนมากกว่าคนอายุ
    น้อย

การรักษา
                นิสัยความเคยชินและพฤติกรรมบางอย่างมีผล ทำให้หลับยากขึ้น ดังนั้น การสร้างสุขอนามัยและพฤติกรรม
ที่ดีในการนอนจะช่วย ทั้งป้องกันไม่ให้เกิด ปัญหานอนไม่หลับเรื้อรังและรักษา อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง ได้
ด้วยสุขอนามัย ในการนอน (Sleep hygiene) และพฤติกรรมที่ดีในการนอน ได้แก่
ฝึกการเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวันเพื่อสร้างความ เคยชิน ให้อยากนอน และตื่นเมื่อถึงเวลา ควร
  ลุกจากเตียงทุกเช้า ในเวลาเดิมไม่ว่าจะ เข้านอน เวลาใดก็ตาม (ฝึกนาฬิกานอนของตนเอง)
การบริหารเบาๆ หลังตื่นนอนและสัมผัสแสงแดดอ่อนตอนเช้า (6-7 นาฬิกา)  ตอนเย็นๆ (16-17 นาฬิกา)
  วันละ 1/2 ชม. ถึง ชม. จะช่วยให้หลับเร็วตื่นเร็ว
การออกกำลังกายทุกวันช่วงเย็นๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานอย่างน้อย 6-10 สัปดาห์ จะช่วยกระตุ้น การนอน
  หลับในตอนกลางคืน
หลีกเลี่ยงการงีบในเวลากลางวัน โดยเฉพาะช่วงเย็น ไม่ควร นอนงีบเด็ดขาด (หากง่วงมากจริงๆ อาจ
  งีบสั้นๆไม่เกิน 30 นาที)
หลีกเลี่ยงสารพวกแอลกอฮอล์ บุหรี่ กาแฟ โดยเฉพาะช่วงเย็น ถึงดึก
ไม่ควรกินอาหารมื้อหนักๆ ก่อนเข้านอนหรือปล่อยท้องให้ว่าง หิวก่อนเข้านอน อาหารเครื่องดื่มอุ่นๆ
  พวกนมมอลล์ ให้ประโยชน์ ทั้งอิ่มและเป็นยาช่วยให้หลับ
ใช้ห้องนอนหรือเตียงนอนสำหรับการนอนหลับเท่านั้น ไม่ควรใช้ เป็นที่อ่านหนังสือ กินข้าว ดูทีวี ทำงาน
  หลายๆ อย่างปนกัน (Stimulus control)
ความเงียบและมืดอุณหภูมิที่พอเหมาะของร่างกายช่วยให้เกิดการ หลับขึ้น จึงควรจัดบรรยากาศ ในห้อง
  นอนให้เหมาะสมและ ขจัดสิ่ง กระตุ้นเหล่านี้ออกไป
นิสัยพื้นๆ บางอย่างอาจรบกวนคนที่หลับยากให้ไม่หลับได้ เช่น ทำงานหามรุ่งหามค่ำจนถึงเวลาเข้านอน
  ก็ปิดไฟจะหลับคิดวางแผน งาน จนถึงเวลาเข้านอน หากมีปัญหาหลับยากอยู่แล้ว ต้องเลิกนิสัย เหล่านี้เสีย
ในผู้ที่วิตกกังวลมาก มีความตึงเครียดทางอารมณ์ไม่สามารถ สลัดออกไป
แม้เวลาเข้านอนอาจช่วยตนเองโดยการเขียน ลำดับ เรื่องต่างๆ ที่คิดออกมาในบันทึก และวางแผนจัดการ
  งานแต่ละเรื่อง อย่างคร่าวๆ ไว้ตั้งแต่หัวค่ำ หรือฝึกการผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ ฝึกโยคะ เป็นต้น
เมื่อเข้านอน 15-30 นาที แล้วยังไม่หลับควรลุกออกจากเตียงนอน ไปห้องอื่น หาอะไรทำเบาๆ เช่น อ่าน
  หนังสือ ด้วยแสงไฟอ่อน หลีกเลี่ยงการดูทีวี (เพราะจะยิ่งกระตุ้น) กลับเข้าห้องนอน เมื่อง่วง นอนเท่านั้น
เพื่อสร้างความเคยชินว่าห้องนอนกับการนอนหลับ แทน ความรู้สึกเดิมๆ ที่เคยชินว่า ห้องนอนคือ นอน
  ไม่หลับ (Temporal control) ในผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรังควรปฏิบัติสุขอนามัย และสร้าง พฤติกรรมที่ดี
  ในการนอนติดต่อกันอย่างน้อย 6-10 สัปดาห์ จะช่วยให้ เกิดการนอนหลับที่เป็นธรรมชาติได้

สาเหตุของการนอนไม่หลับ
                พบได้ทั้งสาเหตุของโรคฝ่ายกาย และปัญหาทางสุขภาพจิต เพราะผู้สูงอายุทุกคนจะมีการเสื่อมของอวัยวะทำให้มีโรคฝ่ายกาย อย่างน้อยหนึ่งโรค เช่น เป็นโรคกระดูกเสื่อม ทำให้ปวดตามตัว ปวดขา ท้องเฟ้อ
โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น
โรคเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุเสริมที่ทำให้นอนหลับยากขึ้นแต่ถ้ามีปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น โรคเครียด
โรคซึมเศร้า โรคระแวง ก็ยิ่งทำให้อาการนอนไม่หลับรุนแรงมากขึ้น  
10. sexual deviation 
ความเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual Deviation)
        โดยทั่วไปแล้วคนเรา จะแสดงออกซึ่งกิจกรรมทางเพศอยู่ในกรอบของวัฒนธรรมและธรรมชาติ แต่มีบางคนที่เกิดผิดปกติทางเพศหรือมีความเบี่ยงเบนทางเพศ คือแสดงออกทางเพศที่ฝ่าฝืนวัฒนธรรมอันดีงามแลบางกรณีก็ผิดกฎหมายของบ้านเมือง เช่น การอนาจาร การกระทำชำเรา การสมสู่กับสัตว์ และการอวดอวัยวะทางเพศ
      
   สาเหตุ
                1. ปัจจัยครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู ปลูกฝังความรู้หรือค่านิยมเรื่องเพศศึกษา ซึ่งมักมีค่านิยมผิดๆ และคิดว่าเรื่องเพศเป็นสิ่งที่ถึงเวลาก็รู้เองจึงปล่อยปละละเลย อีกทั้งผู้ปกครองยังเห็นว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องควรปกปิด ทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาขาดความรู้เรื่องธรรมชาติของกามารมณ์ แยกแยะไม่ได้ว่าพฤติกรรมทางเพศอย่างใดปกติ-ผิดปกติ
          2. การแพร่กระจายของอารยธรรมตะวันตก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น จังหวะการเต้นรำที่กระตุ้นอารมณ์ แฟชั่นเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสม หรือการเห็นตัวอย่างผิดๆ ในวัยเด็ก เกิดเป็นบาดแผลทางใจ
          3. โรคภัยไข้เจ็บและสุขภาพ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากเพราะจะมีผลถึงบุคลิกภาพที่แสดงออกมาอย่างเหมาะสมในเรื่องพฤติกรรมทางเพศ
           4. เหตุทางจิตใจ อาจมีความผิดปกติทางจิตใจถึงได้แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา
 
ความเบี่ยงเบนทางเพศหรือความผิดปกติทางเพศในลักษณะต่างสามารถจำแนกได้เป็นประเภทดังต่อไปนี้
1. รักร่วมเพศ (Homosexual) ความผิดปกติทางเพศประเภทนี้ หมายถึงการที่บุคคลมีความรู้สึกรักใคร่ หรือแสดง
ออกทางเพศเดียวกัน เช่น ชายกับชาย หญิงกับหญิง เป็นต้น
2. อวดอวัยวะเพศ (Exhibitionsm) เป็นความผิดปกติทางเพศประเภทหนึ่งคือการเปิดเผยอวัยวะเพศต่อเพศตรงกัน
ข้ามในสถานที่อันไม่ควรจะเปิดเผย ซึ่งพบมากในหมู่ผู้ชาย
3. แอบดู (Voyeurism or Sexual Looking) ความผิดปกติทางเพศประเภทนี้จะแสดงออกโดยชอบแอบดูอวัยวะเพศ
ดูร่างเปลือยเปล่าของเพศตรงข้าม 
 4.   การสะสมสิ่งของเพศตรงข้าม (Fetishism) คือการที่ชอบสะสมสิ่งของที่เป็นของใช้ผู้หญิง เช่น ชุดชั้นใน ยกทรง
รองเท้า กางเกงใน เป็นต้น ความผิดปกติทางเพศแบบนี้มักพบในผู้ชาย การที่เขาชอบสะสมสิ่งของดังกล่าวก็เพราะ
ว่าสิ่งของเหล่านี้เป็นสิ่งกระตุ้นความรู้สึกเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านั้น จะสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง
5.  กระเทยหรือลักเพศ (Transustism) หมายถึงลักษณะการแต่งตัวที่ตรงกันข้ามกับเพศตนเอง ซึ่งเป็นการให้ความ
พอใจและความสุขทางเพศแก่เขา ลักษณะนี้พบมากในผู้ชายที่ชอบแต่งตัวเป็นหญิง
6. การทำให้เพศตรงข้ามและตัวเองเจ็บปวด (Sadism and masochism) ความผิดปกติประเภทนี้คือ ประเภทที่ทำให้
เพศตรงข้ามมีความเจ็บปวดทรมานด้วยวิธีต่างๆ แล้วตนเองจะได้รับความสุขในขณะร่วมเพศ เรียกว่าSadism กับ
ประเภทที่ทำให้ตนเองได้รับความเจ็บปวดด้วยอาการต่างๆ เสียก่อนแล้วตนเองจะได้รับความสุขขณะร่วมเพศ เรียกว่า
Masochism
7.  การสมสู่กับสัตว์ (Bestiality) เป็นความผิดปกติทางเพศอย่างหนึ่ง ที่แสดงออกทางอารมณ์เพศกับสัตว์ บางราย

 11. Learning Disabilities
สาเหตุ
                โรคนี้เกิดในเด็กวันเรียนโดยเด็กจะมีอาการอ่านไม่คล่อง สะกดคำไม่ถูกต้อง ถ้าเจอคำยากๆก็จะอ่านข้ามไป หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือ หรือถึงขั้นไม่อยากไปโรงเรียนได้เลย บางรายที่มีความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์ก็จะไม่สามารถทำโจทย์เลขได้ แม้จะเป็นโจทย์ที่เพื่อนในวัยเดียวกันทำได้แล้วก็ตาม

ลักษณะอาการ
                1. ปัญหาในการอ่าน เช่น อ่านผิด ตกหล่น อ่านข้ามคำ เพิ่มคำ สลับพยัญชนะ ผสมคำ แยกคำอ่านไม่ได้     อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
                 2.ปํญหาในการเขียน เช่น เขียนตัวหนังสือกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกที่ หรือ      เขียนคำสลับตำแหน่งกัน ทำให้เขียนช้าและไม่ชอบเขียน
                3.ปัญหาในการคำนวณ เช่น เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขหลักต่างๆ     ไม่เข้าใจเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ตีโจทย์ปัญหาไม่ได้ ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
                4.ปัญหาในการคิด เช่น ไม่สามารถลำดับเหตุการณ์ สับสนในการทำตามคำสั่ง การให้เหตุผลไม่ดีพอ      เรียนแล้วก็ลืม

การวินิจฉัย
                LD เป็นโรคที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ ควรได้รับการวางแผนการเรียนเป็นรายบุคคล (Individualized Educational Program, IEP)เพื่อปรับหลักสูตรการเรียนและวิธีการประเมินให้เหมาะสม เช่น เน้นการฟัง การเห็น การลงมือทำ หรือใช้เครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ เช่น วิดีโอ คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเรียนได้ในโรงเรียนปกติ

การรักษา
                1.พาหนูพบคุณหมอ ให้คุณหมอซักประวัติอย่างละเอียดจากผู้ปกครอง มีแบบสอบถามให้คุณครูของหนูตอบ มีการวัดระดับเชาว์ปัญญา วัดความสามารถทางการเรียนด้านต่างๆ
               2.ตรวจร่างกายและทดสอบทางจิตวิทยา และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
               3.ให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยเหลือและครอบครัวทางด้านจิตใจ
               4.ช่วยทางด้านการเรียน โดย ครูการศึกษาพิเศษ
                5.ถ้ามีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้า คงต้องให้กินยา
                 6.การบำบัดทางเลือกอื่นๆ เช่น ศิลปะบำบัด การกระตุ้นระบบประสาทและความรู้สึก

12. Asperger's Disorder

สาเหตุ
                โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger's Disorder) หรือที่เดิมเรียกว่า แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger's Syndrome) เป็นความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคออทิสติก (Autistic Disorder) แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้างพอสมควร

ลักษณะอาการ
                1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยา หรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)
                2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้
                3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่นๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
                4. ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
                               
การวินิจฉัย
                เกณฑ์การวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์ ตามคู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association's Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorder - Forth Edition, 1994) จัดโรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger's Disorder) อยู่ในกลุ่ม การวินิจฉัยโรคที่เรียกว่า พีดีดี ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน (PDDs – Pervasive Developmental Disorders)

การรักษา
                โรคแอสเพอร์เกอร์ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะเจาะจงให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถช่วยเหลือให้มีพัฒนาการทางด้านสังคมดีขึ้นได้มาก สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ และใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมได้ตามปกติ สำหรับแนวทางในการดูแลรักษาใช้แนวทางเดียวกับการดูแลรักษาผู้ที่เป็นออทิสติก โดยเน้นแก้ไขในด้านที่เป็นปัญหา ควบคู่ไปกับการส่งเสริมในด้านที่เป็นความสามารถของเด็ก เป็นสำคัญ

13. Alcohol withdrawal syndromes
                กลุ่มอาการเนื่องจากการขาดสุราและการรักษาในปัจจุบัน
สาเหตุ
                กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเป็นจากการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของสารสื่อประสาทต่าง ๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ ระบบแรกทำหน้าที่ยับยั้ง ซึ่งพบว่ามีการทำงานลดลง โดยมี gamma-amino-butyric acid (GABA) และ alpha -2- adrenergic receptor activity ลดลง ส่วนระบบที่สองซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นนั้นพบว่ามีการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนที่สำคัญ คือ มี N-methyl-D-aspartateactivityเพิ่มขึ้นจากการลดลงของ magnesium ทำให้เกิดภาวะ hyperexcit-ability นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่นติดตามมา เช่นมี catecholamine และcorticotropin หลั่งออกมามาก
ภาวะ hyperexcitability นี้ยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในระดับ cell membrane โดยพบว่าในผู้ป่วย โรคพิษสุรา จะมีปริมาณของ calcium channelเพิ่มขึ้นกว่าเดิม  จากการศึกษาพบว่า calcium channel blocker สามารถลดอาการ withdrawal ได้

ลักษณะอาการ
                การเกิดอาการของผู้ป่วยสัมพันธ์กับอัตราการลดลงของปริมาณสุราในร่างกาย มากกว่าปริมาณ ของสุราในร่างกาย ขณะเกิดอาการ อาการแบ่งออกเป็น กลุ่ม ตามความรุนแรงและช่วงเวลาที่เกิดอาการ
                1.Uncomplicated alcohol withdrawal อาการที่พบแรกสุด และบ่อยที่สุดได้แก่ อาการตัวสั่น มือสั่น ร่วมกับ มีอารมณ์หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดหลังจากหยุดดื่มได้ไม่กี่ชั่วโมง พบบ่อย ๆ ว่า จะเป็น ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น อาการสั่นเป็นอาการที่เห็นได้ชัด สั่นเร็ว 5-7 ครั้งต่อวินาที การสั่นจะมากขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหว หรือมีความเครียด ถ้าให้เหยียดแขนหรือแลบลิ้น จะยิ่งเห็นชัด
                2. Alcohol withdrawal seizure พบว่าร้อยละ 90 เกิดอาการชักในช่วง 7-48 ชั่วโมงหลังจากหยุดดื่มสุรา ลักษณะการชัก โดยมากจะเป็นgeneralized seizure เกิด 2-6 ครั้ง status epilepticus พบได้น้อย (5) ประมาณหนึ่งในสามของผู้ที่มีการชักจะเกิดอาการ alcohal withdrawal delirium ต่อไป และเมื่อเกิดอาการ delirium แล้วพบน้อยมากว่าจะเกิดการชักขึ้นอีก อาการชักหลังหยุดดื่มสุรานี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งถึง ความรุนแรงของการเป็น โรคพิษสุรา
                3. Alcohol hallucinosis โดยมากเริ่มมีอาการภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากหยุดดื่ม ลักษณะอาการเด่น จะเป็นประสาทหลอน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงแว่ว เช่น เสียงนาฬิกา เสียงรถยนต์ เสียงระฆัง เสียงคนพูดกัน หรือพูดข่มขู่ผู้ป่วย  ผู้ป่วยจะหวาดกลัว ตื่นตระหนก กระสับกระส่าย อาการประสาทหลอนชนิดอื่นเช่นภาพหลอนพบได้น้อย แยกจากอาการdelirium โดยที่ ผู้ป่วยไม่มีอาการเพ้อ งุนงง สับสน หรือหลงลืมโดยทั่วไป จะมีอาการอยู่ไม่นาน เป็นเพียงชั่วโมงถึงหลายวัน ซึ่งผู้ป่วยจะค่อย ๆ รู้ตัวว่าเสียงที่ได้ยินนั้นไม่มีจริง มีอยู่ส่วนน้อยที่อาการไม่หายเป็นปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการนานเกินกว่า 6 เดือน
                4. Alcohol withdrawal delirium (Delirium Tremens) อาการมักเกิดขึ้นหลังจากหยุดสุราได้ 2-3 วัน และจะรุนแรงมากที่สุดในวันที่ 4-5 เกิดในผู้ที่ดื่มสุราหนักมา 5-15 ปี และมีความเจ็บป่วยทางร่างกายร่วม เช่น อุบัติเหตุ โรคตับ โรคติดเชื้อ

การวินิจฉัย
                การซักประวัติให้ละเอียดและการตรวจร่างกายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะทางระบบประสาทเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อดูว่า มีโรคทางร่างกายอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ จากการศึกษาผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลพบว่า มีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย ถึงร้อยละ23 เช่น gastritis gastriculcer pancreatitis liver disease cardiomyopathy หรือ neurologic complication เป็นต้น(14)
ผู้ป่วย alcohol withdrawal ธรรมดานั้นไม่ค่อยมีปัญหาในการวินิจฉัย ผู้ป่วย alcohol withdrawal seizure ต้องแยกจากการชักที่มีมาจากสาเหตุอื่น โดยเฉพาะในรายที่มี focal seizure ผู้ป่วย alcohol hallucinosis ต้องแยกจากอาการ delirium tremens และผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตจากโรคจิตเวชอื่น ๆ ส่วนผู้ป่วย delirium tremens ต้องแยกจากภาวะdelirium จากสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะ hepatic encephalopathy และภาวะการขาดสมดุลของเกลือแร่ การส่งตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น serum magnesium level liver function test prothrombin time หรือ EEG อาจจำเป็นในกรณีมีข้อบ่งชี้

การรักษา
                อาการ alcohol withdrawal ที่ไม่รุนแรงนั้น แม้จะไม่ให้การรักษาด้วยยา อาการ ก็ทุเลาลงเองได้  บางการศึกษาพบว่ามีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ยังไม่มีปัจจัยใดที่จะช่วยบ่งว่า ผู้ป่วยรายใด ที่จะเกิดอาการรุนแรงซึ่งต้องให้ยาป้องกัน ความถี่บ่อยหรือปริมาณของการดื่มสุรา หรือระดับ enzyme aminotransferase นั้น ไม่ได้ช่วยในการบอกถึงความรุนแรงของอาการ  ที่พอทราบ คือ ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติ ของ delirium tremens จะมีโอกาสเกิดได้อีกในการหยุดสุราครั้งต่อไป ผู้ป่วยalcohol withdrawal ธรรมดานั้นไม่มีความจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล จะรับผู้ป่วยไว้รักษา ในโรงพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยมี organic brain syndrome, Wernicke’s encephalopathy, dehydration, history of trauma, neurologic symptoms, medical complication, delirium tremens, alcohol seizure หรือ alcohol hallucinosis
                1. การรักษาทั่วไป
                ผู้ป่วยโรคพิษสุรามักพบการขาดสารอาหารร่วมด้วย โดยเฉพาะ thiamine B12 และ folic acidในผู้ป่วย ที่การตรวจ ยังไม่ส่อถึงภาวะขาดอาหารการให้กิน thiamine 100 มก.และ folic acid 1 มก. ร่วมกับวิตามินรวม และสารอาหารอื่น ๆ ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลก็เพียงพอแก่การป้องกันการเกิดWernicke-Korsakoff’s syndrome ในผู้ป่วย ที่ขาดอาหารอย่างมากนั้น ควรให้ thiamine 100-200 มก.ฉีดเข้ากล้ามทันที และฉีดต่อไปวันละ 100 มก. นานประมาณ 5 วัน ในรายที่ต้องให้ glucose ควรฉีดthiamine ก่อน เนื่องจากในกระบวนการ glucose metabolism นั้น จะมีการใช้ thiamine เป็นcofactor ที่สำคัญ ทำให้ thiamine ในพลาสมายิ่งต่ำมากขึ้น
                 2. การรักษาด้วยยา
                วัตถุประสงค์ของการใช้ยาได้แก่ เพื่อลดอาการ withdrawal และ เพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติแทรกซ้อน เช่น seizure หรือ delirium ให้ยาโดยมุ่งให้ผู้ป่วยอาการสงบลงไม่วุ่นวาย อาการautonomic hyperarousal ลดลง แต่ก็ไม่มากจนผู้ป่วยง่วงซึมตลอดเวลา

14. Panic disorder and Agoraphobia
        ผู้ที่เป็นโรคแพนิค (panic disorder) จะมีอาการของ panic attack เกิดขึ้นซ้ำบ่อยๆ และเกิดเองโดยที่ไม่มีสิ่งใดมากระตุ้น เป็นแบบ paroxysmal และผู้ป่วยจะรู้สึกกังวลว่าอาการเหล่านั้นจะเป็นขึ้นมาอีก หรืออาจกลัวผลซึ่งเกิดตามมาจากการมีอาการ เช่น กลัวว่าจะคุมตัวเองไม่ได้ กลัวจะเป็นโรคหัวใจ กลัวว่าจะเป็นบ้า หรือในบางคนอาจมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเกิดจากอาการดังกล่าว จนมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

สาเหตุ
                   1. ปัจจัยด้านจิตใจ 
                   ทฤษฎี cognitive behavioral เชื่อว่า ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการเลียนแบบมากจากพ่อแม่ที่มีอาการเหมือนกับผู้ป่วย หรือจาก classical conditioning เชื่อว่าโรคแพนิค และ agoraphobiaเกิดจากการที่ผู้ป่วยเคยมี panic attack ในขณะที่มีสิ่งกระตุ้นบางอย่าง หรืออยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง ก็จะทำให้ผู้ป่วยกลัวว่าจะเกิด panic attack ขึ้นเมื่อเจอสิ่งกระตุ้นนั้น หรือสถานที่นั้นซ้ำอีก
          2. ปัจจัยด้านชีวภาพ
                   1) Peripheral and central nervous system จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคแพนิค พบว่าautonomic nervous system ของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีsympathetic tone เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อถูกกระตุ้นด้วย stimuli ต่างๆ
                   2) Neurotransmitters ตัวที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ norepinephrine โดยเฉพาะที่บริเวณ locus ceruleus, serotonin ที่บริเวณ median raphe nucleus และ gamma-aminobutyric acid (GABA)
                   3) Panic inducing substances พบว่ามีสารหลายชนิดที่เมื่อให้กับผู้ป่วยโรคแพนิคแล้วจะเหนี่ยวนำให้เกิด panic attack ได้ง่ายขึ้น เช่นcarbondioxide เข้มข้น 5-35 %, sodium lactate, bicarbonate, alpha-2 adrenergic receptor antagonist (yohimbin), serotonin releasing agent (fenfluramine) และ caffeine เป็นต้น
ลักษณะอาการ
                  มีอาการในหัวข้อต่อไปนี้ ตั้งแต่ 4 อาการขึ้นไป อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และถึงระดับสูงสุดในระยะเวลา 10 นาที
          1. ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือหัวใจเต้นเร็วมาก
          2. เหงื่อแตก
          3. ตัวสั่น
          4. หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจขัด
          5. รู้สึกอึดอัด หรือแน่นอยู่ข้างใจ
          6. เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
          7. คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน
          8. มึนงง วิงเวียน ปวดหัว หรือเป็นลม
          9. Derealization  และ depersonalization
          10. กลัวคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า
          11. กลัวว่าตนเองกำลังจะตาย
          ผู้ป่วยบางรายอาจมี agoraphobia ร่วมด้วย คือ กลัวการอยู่ในสถานที่ซึ่งตนอาจเกิดอาการ panic attack ขึ้นมาแล้วจะไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือจะหนีไปไหนไม่ได้
          โรคในกลุ่มนี้แบ่งย่อยออกเป็น 3 โรค ได้แก่
          1. panic disorder without agoraphobiaคือ ผู้ป่วยโรคแพนิคที่ไม่มี agoraphobia ร่วมด้วย
          2. panic disorder with agoraphobia คือ ผู้ป่วยโรคแพนิคที่มี agoraphobia ร่วมด้วย
          3. agoraphobia without history of panic disorder คือ ผู้ป่วยที่ไม่เคยเป็นโรคแพนิคเลย แต่กลัวว่าถ้าไปอยู่ในชุมชนแล้วจะเกิด panic attack หรืออาการที่คล้าย panic ขึ้นมาได้

ระยะดำเนินโรค
                โรคนี้มักเกิดในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยทั่วไปมักเรื้อรัง การมี panic attack เพียง 1-2 ครั้ง จะยังไม่ทำให้ผู้ป่วยกังวลกับอาการดังกล่าว แต่หากมีอาการบ่อยขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มกังวล เกิด phobic avoidance และ agoraphobia
          ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคร่วมกับ agoraphobiaเมื่อมีแพนิคหาย agoraphobia มักหายตามด้วย แต่ผู้ป่วยที่มี agoraphobia เพียงอย่างเดียวมักเป็นเรื้อรัง และอาจมีปัญหาอื่นตามมา เช่น depressive disorder, alcohol dependence เป็นต้น

การวินิจฉัย
                1. โรคทางกาย ควรวินิจฉัยแยกจากโรคทางกาย
          2. โรคทางจิตเวช โรคจิตเวชอื่นๆ ที่อาจมีอาการคล้าย panic attack ได้ เช่น phobia ชนิดต่างๆ ผู้ป่วยมักจะมีอาการกลัว หรืออาจมีอาการแพนิคได้เมื่อเผชิญกับสิ่งที่ตนกลัว ใน posttraumatic stress disorder ผู้ป่วยมีอาการแพนิคได้แต่มักมีอาการหลังจากที่เผชิญต่อเหตุการณ์ที่รุนแรงและคุกคามต่อชีวิตนอกจากนี้อาการแพนิคยังสามารถพบในโรคทางจิตเวชอื่นได้อีก เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิต , depersonalization disorder และ somatoform disorder เป็นต้น

การรักษา
                1.การรักษาได้ผลค่อนข้างดี โดยเฉพาะการรักษาด้วยยา และ cognitive behavioral therapy
                2. ยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) พบว่าได้ผลดีในการรักษาโรคแพนิค ปัจจุบันนิยมใช้ยากลุ่ม SSRIเป็นยาขนานแรกโดยให้ fluoxetine เริ่มต้นที่ขนาด 10 มก./วัน เพิ่มได้ถึง 20-40 มก./วัน กินมื้อเช้าหลังอาหาร
                3.ยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม tricyclic ที่นิยมใช้คือ imipramine โดยเริ่มขนาด 25 มก. ประมาณ 1 สัปดาห์แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดยา 25 มก./สัปดาห์ เพราะหากเพิ่มยาเร็วไปในช่วงแรกผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการมากขึ้นและทนฤทธิ์ข้างเคียงของยาไม่ได้ ขนาดโดยทั่วไปจะประมาณ 50-75 มก.
                4.ในทางปฏิบัติแล้วส่วนใหญ่จะให้ยาแก้ซึมเศร้าร่วมกับ benzodiazepine ไปพร้อมกันตั้งแต่แรก จน 4-6 สัปดาห์ต่อมาเมื่อควบคุมอาการได้ดีและยาแก้ซึมเศร้าออกฤทธิ์เต็มที่ แล้วจึงค่อยๆ ลดbenzodiazepine ลง เหลือยาแก้ซึมเศร้าเพียงขนานเดียวไว้ควบคุมอาการ
                5.เมื่อผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาแล้วให้คงยาต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 12 เดือน แล้วจึงลองลดยาลงโดยใช้เวลา 2-6 เดือน หากไม่มีอาการระหว่างนี้ก็ให้หยุดยาได้
                6.การรักษาอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีการฝึกการผ่อนคลาย การฝึกหายใจเมื่อเกิดhyperventilation และการใช้เทคนิคต่างๆ ของพฤติกรรมบำบัด สำหรับอาการ agoraphobia การรักษาที่ได้ผลดี ได้แก่ exposure in vivo

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2565 เวลา 23:10

    Baccarat - Worrione | The Gruppe
    Baccarat is one of the oldest and most kadangpintar famous 인카지노 and most popular forms of gambling, and a 바카라 popular gambling game. It is played in many states throughout the

    ตอบลบ