วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีทางสุขภาพจิต

1. ทฎษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
คิดค้นโดย Sugmund Freud  (บิดาจิตวิเคราะห์)
   - แนวคิดทฤษฎี
1.1 ระดับของจิตใจ Level of Mind
1.2 โครงสร้างของจิตใจหรือบุคคล Structure of Mind/Personality
1.3 พัฒนาการทางบุคลิกภาพ Psychosexual Development
   - โครงสร้างของบุคลิกภาพ
 • อิด (Id) มีมาตั้งแต่เกิด อยู่ในจิตไร้สำนึก เช่น ความดิบ เถื่อน โหดร้าย
 • อีโก้ (Ego) ความมีเหตุผล อยู่ในหลักความเป็นจริง
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) พัฒนามาตั้งแต่เด็กอายุ 5-6 ขวบ
   - ระดับของจิตใจ > แบ่งเป็น 3 ระดับ
 • จิตสำนึก (The consclous)
 • จิตก่อนสำนึก (The preconscious)
 • จิตไร้สำนึก (The unconscious)
ขั้นพัฒนาการของบุคลิกภาพ โดยมีพลังงานทางจิต เรียกว่า ลิบิโด (Libido)
     - ขั้นปาก ( แรกเกิด - 1 ปี )นะ
     - ขั้นทวารหนัก ( 1-3 ปี )
     - ขั้นเพศ ( 3-5 ปี )
     - ระยะแฝง ( 6-13 ปี )
     - ขั้นพัฒนาการทางเพศ ( วัยรุ่นเป็นต้นไป )

2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Development Theory)
   เชื่อว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลล เกิดจากที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเเวดล้อม ทุกช่วงวัยของชีวิต มีความสำคัญในการพัฒนาองค์ประกอบของ บุคลิกภาพตลอดชีวิต

3. ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Theory)
    ผู้ริเริ่ม คือ Herry Stack Sullvian
      - แนวคิด
 3.1 มีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในสังคม
 3.2 มนุษย์เป็นผลผลิตของการปฏิสัมพันธ์กับสังคม
 3.3 ประสบการณ์ในชีวิตต้นๆ มีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพจิต
     > แนวคิดหลัก แบ่งออก 3 ลักษณะ ดังนี้
 - เริ่มจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
 - สามารถอธิบายและสังเกตุได้
 - พยายามกำจัดความวิตกกังวลนั้น

4. ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
        นักทฤษฎีที่สำคัญได้แก่..
   1. pavlov
   2. Thorndike
   3. Wolpe
   4. Watson
   5. Skinner
เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์ทั้งหลายเกิดจากการเรียนรู้ มิใช่แรงผลักดันภายใน แต่เปนการได้ประสบการณ์การเรียนรู้
         เรียนรู้มาผิดๆ --------> พฤติกรรมผิดปกติ --------> เรียนรู้ใหม่
    - แนวคิดหลัก
4.1 มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง มีความซับซ้อน ระบบการคิด ภาษา และความเข้าใจ
4.2 พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขและการเรียนรู้ในอดีต
4.3 พฤติกรรมของมนุษย์สังเกตุเห็นได้ อธิบายได้ และควบคุมได้
4.4 พฤติกรรมของมนุษย์ความผิดปกติของมนุษย์เป็นสิ่งยุ่งยากภายในจิตใจ เป็นเพียงพฤติกรรมสิ่งหนึ่งในการต้บสนองต่อสิ่งเร้า
4.5 พฤติกรรมของมนุษย์แสดงออกอย่างเหมาะสม จะได้รับแรงเสริมทางบวกและทำให้แสดงออกอีก
4.6 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สามารถแก้ไขได้โดยการเรียนรู้ใหม่